วันอาทิตย์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

วิเคราะห์กรณีศึกษา (Case Study)

กรณีศึกษา การประยุกต์เทคโนโลยีจัดเก็บและเคลื่อนย้ายของบริษัทที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมพลาสติก





ลักษณะธุรกิจ








เป็นโรงงานผลิตถ้วยพลาสติกหลายขนาด จำนวนสินค้าที่ผลิตและจำหน่ายมีมากกว่า 400 ชนิด โรงงานมีกระบวนการผลิตตั้งแต่เริ่มนำเม็ดพลาสติกและเก็บเป็นม้วน และนำมาขึ้นรูป ตัด และพิมพ์สี บรรจุภัณฑ์ซ้ำซ้อน สินค้าระหว่างผลิต (Work In Process) ถูกนำเข้าเก็บไว้ในคลังสินค้าสำเร็จรูปรอการผลิตและจัดส่งผังการผลิต และจัดเก็บ





ปัญหาที่เกิดขึ้น





-การจัดซื้อไม่สอดคล้องกับการผลิต


-การจัดเก็บวัตถุดิบทำให้เกิดงานซ้ำซ้อน ต้องเก็บในคลังสินค้าสำเร็จรูป เสียเวลาเคลื่อนย้ายมาก


-การจัดเก็บแบบเดิมสินค้าซ้อนทับกันเสียหายไม่ใช้ระบบชั้นวางสินค้า


-ฝ่ายขายขาดความร่วมมือในการวางแผนระบบงาน สินค้าที่รับจากลูกค้าหลายชนิดมากเกินไป ทำให้ต้องเปลี่ยนสายการผลิตแต้งเครื่องบ่อยมาก ทำให้ต้นทุนธุรกิจขาดทุนต่อเนื่อง


-สินค้าคงคลังระหว่างการผลิตส่งไปเก็บยังคลังสินค้าสำเร็จรูป เสียเวลานับกลับมาผลิตใหม่ เป็นระยะทางมากกว่า 600 เมตร


-การวางผังกระบวนการผลิตไม่ต่อเนื่อง


-ใช้พื้นที่คลังและปริมาตรคลังสินค้าไม่เต็มพื้นที่ใช้เพียง 30%


-ขาดการประยุกต์ในการเคลื่อนย้ายแบบเป็นระบบ ทำให้ระยะทางเคลื่อนย้ายไกลมาก





ผลจากการปรับปรุง





1.ปรับผังกระบวนการผลิตและคลังสินค้าใหม่ตามผังแบบเพื่อลดระยะทางในการเคลื่อนย้าย


2.จัดทำระบบจัดเก็บระบบ Selective Rack จำนวนทั้งสิ้น 4,500 พาเลท เพราะลดการใข้พื้นที่จากภายนอกและการขนส่ง การเคลื่อนย้ายบ่อยทำให้สินค้าแตกเสียหาย


3.เปลี่ยนจากการบรรจุเม็ดพลาสติกแบบถุง มาใช้ระบบป้อนเม็ดพลาสติกเข้าเครื่องจากไซโลแบบอัตโนมัติ เพื่อลดขั้นตอนการทำงาน


4.แผ่นพลาสติก (Work In Process :WIP) ไม่ต้องส่งไปเก็บยังคลังสินค้าสำเร็จรูป แต่สร้างโรงงานบริเวณเหนือโรงพิมพ์สี โดยเป็นโครงสร้างเหล็กชั้นลอยแบบแยกประกอบในที่สามารถเก็บสินค้าได้ รวมถึงวัสดุสำหรับบรรจุภัณฑ์


5.สินค้าสำเร็จรูปหลังจากพิมพ์สามารถบรรจุ และส่งผ่านสายพานลำเลียงแบบใช้แรงโน้มถ่วง โดยไม่ต้องเสียเวลาขนด้วยรถฟอร์คลิฟท์ ลดจำนวนรถฟอร์คลิฟท์ได้ไม่น้อยกว่า 5 คัน และส่งผลให้การทำงานง่ายขึ้น


6.การเปลี่ยนแปลงโรงงานใหม่ ทำให้เกิดประสิทธิภาพจากกการเคลื่อนย้ายจัดเก็บ ทำให้ลดจำนวนพนักงานลงมากกว่า 300 คน


7.การเจรจาต่อรองของฝ่ายขาย โดยทำบรรจุภัณฑ์เป็นมาตรฐานคล้ายกัน และประยุกต์ได้กับลูกค้าหลายบริษัท ทำให้ลดต้นทุนค่าติดตั้งและปรับเครื่องใหม่เป็นมูลค่ามากกว่าปีละ 20 ล้านบาทและการปรับเครื่อง 1 เที่ยวใช้เวลาไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง โดยปัจจุบันจากจำนวนสินค้า 403 SKUs เหลือเพียง 101 SKUs


8.สิ่งแวดล้อมในการทำงานดีขึ้นไม่เกิดอุบัติเหตุ


9.ลดต้นทุนในการดำเนินงานเฉพาะในส่วนโรงงานได้มากกว่า 20 ล้านบาท





กรณีศึกษาอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์





ข้อมูลโครงการ





บริษัท : Banta packaging & Fulfillment


ลักษณะโครงการ : Nationl Distribution Center


สถานที่ : Harrisonburg.VA.USA


ขนาด : 23,580 square meters


จำนวนพนักงาน : 100 คน


ผู้บริหาร : Dwyne Black,director of operations


Joe Fair,operation manager


สินค้า : ตำราและวารสาร


จำนวนที่กระจายต่อวัน : 150,000-160,000เล่มต่อวัน


ประเภทสายพานลำเลียง : Belt,Live rollers,accumulating(EZLogic),gravity(skatewheel and roller),trashtakeway,sorters(ProSort andSC)


ระบบควบคุม : FortnalPlus


ระบบจัดการคลังสินค้า : Logistic PRo


ผู้จำหน่ายสายพานลำเลียง : Hytrol Conveyor lnc,Jonesboro,AR


ผู้ออกแบบระบบ : Fortna lnc,Reading,PA





ผลจากการปรับปรุง





- หลักการออกแบบ : การยกระดับของระบบลำเลียงลาดเอียงสูงขึ้นโดยใช้แรงโน้มถ่วงโลก เพื่อการเพิ่มผลผลิต





-กระบวนการตอบสนองคำสั่งซื้อของลูกค้าเริ่มต้นจากการแบ่งพื้นที่หยิบหนังสือ 2 พื้นที่ใหญ่ คือ แบบเต็มกล่องและแบบไม่เต็มกล่อง Broken case ซึ่งแบบเต็มกล่องจะวิ่งผ่านไปจุดเชื่อมต่อ 3-to-1และเคลื่อนย้ายไปยังระบบลำเลียงเป็นวง สำหรับการค้นหาตำราที่ต้องการ หลังจากนั้นจะส่งกล่องกลับไปยังด้านหลัง ไปยังช่องส่งของบริเวณขนถ่ายสำหรับส่งเป็นพาเลทแบบไม่เต็มกล่องจะวิ่งผ่านไปยังจุดบรรจุกล่องไปยังพื้นที่ตรวจดูตำรา ว่าเป็นไปตามคำสั่งของลูกค้าหรือไม่ แล้วส่งไปเพื่อบรรจุเป็นไปรษณียภัณฑ์ หลังจากนั้นจะส่งกล่องไปยังชิ่ง สำหรับส่งเป็นไปรษณียภัณฑ์บริเวณท่าขนถ่าย





-โครงการนี้เป็นโครงการเกี่ยวกับการออกแบบระบบการเคลื่อนย้ายด้วยระบบสายพานลำเลียงควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ที่ได้ทำการติดตั้งเรียบร้อยแล้วและเริ่มใช้งาน โดยใช้เวลาทั้งหมดเริ่มจากการออกแบบจนถึงการทดสอบระบบเพื่อการใช้งานทั้งสิ้น 16 สัปดาห์โดยใช้สำหรับบริการกระจายหนังสือและการดำเนินงานตามคำสั่งซื้อของลูกค้าโดยตรง โดยส่งผ่านไปรษณีย์ผ่านในศูนย์กระจายสินค้าแห่งใหม่นี้ การดำเนินงานการติดตั้งเพียง 16 สัปดาห์ถือว่าดำเนินการรวดเร็วมาก โครงการนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กระจายตำราให้กับ DG Books Worldwide.โดย IDGB เป็นผู้ผลิตหนังสือชื่อเสียงดีชื่อ”Dummies”โดยมีหนังสือที่พิมพ์คือ PCs for Dummies และอีกหลายชุดและยังมีหลังสือชุด The Betty Crocker เป็นหนังสือเกี่ยวกับการปรุงอาหาร Cliff Notes Frommers Travel Weight Watchers และชุดโฮเวลนับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงทีดีกว่าเดิมจากเดิม IDGB มีการจัดส่งหนังสือจากคลังสินค้า 4 แห่งในสหรัฐอเมริกา การบริหารลำบากเพราะมีหลายศูนย์หลายพื้นที่ การสร้างศูนย์กระจายหนังสือใหม่เพื่อต้องการรวบรวมการปฎิบัติการให้อยู่ในพื้นที่คลังสินค้าเดียวมีข้อกำหนดคือเกี่ยวกับการเลือกทำเลที่ตั้งโรงพิมพ์ ต้องการคลังสินค้าใกล้กับแหล่งที่ผลิตหรือพิมพ์ตำราหรือที่โรงพิมพ์ The Banta Book Group ในแฮริสวอนเบิร์ก รัฐเวอร์จิเนีย เพื่อเพิ่มผลผลิต ฉะนั้นที่ตั้งโรงงานใหม่จึงตั้งที่แฮริสวอนเบิร์ก เพื่อลดค่าขนส่งและค่าระวางสำหรับการส่งตำราของ IDGB





-IDGB ขอข้อมูลจาก Banta Packaging & Fulfillment ในการพัฒนาศูนย์กระจายสินค้าใหม่ ซึ่งได้ลงนามสัญญาเรียบร้อยแล้ว โดยหน่วยงานสถานที่ก่อสร้างที่เลือกใกล้กับโรงพิมพ์





-Banta สามารถปฎิบัติงานตามกำหนดเวลาด้วยความร่วมมือจากหลายฝ่าย ซึ่งดำเนินงานการสร้างระบบสายพานลำเลียงในศูนย์กระจายสินค้าโดยสมบูรณ์แบบ ได้ทำงานใกล้ชิดกับ IDG Books เพื่อดูความต้องการที่แท้จริงในปัจจุบันและความต้องการในอนาคต ขณะเดียวกันก็ร่วมมือกับผู้ออกแบบระบบ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าเป็นไปตามความต้องการของทุกฝ่ายสำนักงานใหญ่ของผู้ออกแบบตั้งที่รีดดิ้ง เพนซิลวาเนีย ซึ่งเป็นศูนย์กระจายสินค้าของ Hytrol ระหว่างการก่อสร้างโครงการมีการทำงานด้วยความสัมพันธ์ที่ดีทั้งสองฝ่ายคือ ฟอร์ทน่าและไฮโทรล การทำงานเป็นทีมเป็นปัจจัยสำคัญในการแล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนด ตั้งแต่การออกแบบทางวิศวกรรม ระบบควบคุม ระบบคอมพิวเตอร์ การติดตั้งอุปกรณ์และทอสอบแล้วเสร็จใน 16 สัปดาห์ โดยโรงพิมพ์สามารถส่งหนังสือเข้าศูนย์กระจายสินค้าในระบบการขนถ่ายแบบลำเลียง ศูนย์กระจายสินค้าได้นำเอาอุปกรณ์ระบบสายพานลำเลียงของ Hytrol Conveyor โดยมีการออกแบบเป็นแนวที่มีผลต่อการทำงาน เพื่อทำให้เกิดความยืดหยุ่นโดยประกอบด้วยสายพานลำเลียงแบบสายพาน(Belt Conveyor)ระบบลูกกลิ้งโดยใช้แรงโน้มถ่วง(Live rollers)และอุปกรณ์สำหรับรวบรวมตำราด้วยระบบรุ่น Hytrol’s exclusive EZ Logic ทั้งแบบสเก็ตวีลและชุดลูกกลิ้งโดยใช้แรงโน้มถ่วงใช้ตลอดแนว เพื่อให้สามารถขยายเพิ่มเติมในอนาคตได้มีการออกแบบทางวิศวกรรม เพื่อตอบสนองความต้องการเชิงกลยุทธ์และมีการต่อเชื่อมอย่างต่อเนื่องแบบอนุกรมโดยใช้ระดับสูงเหนือศีรษะอีกชุดหนึ่ง ทำให้พื้นที่ดูแลง่ายและสะอาดหนังสือมาจากโรงงานพิมพ์จะถูกลำเลียงตรงเข้าชั้นวาง หนังสือที่จัดเก็บเป็นพาเลท หลังจากนั้นจะมีท่าสำหรับสายพานลำเลียงแบบชนิดวางพาเลท โดยใช้แบบลาดเอียงใช้แรงโน้มถ่วง(Gravity Comveyor)เพื่อให้เกิดการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว โดยมีสายพานการลำเลียง 2 สาย สายที่หนึ่งสำหรับการหยิบสินค้าเต็มกล่อง ตามคำสั่งจากลูกค้า ส่วนอีกสายหนึ่งสำหรับการหยิบหนังสือที่ไม่เต็มกล่อง เป็นเล่มสำหรับการหยิบที่เต็มกล่องจะส่งลงตรงที่สายพานลำเลียงชุดลาดเอียง(A live roller conveyor)ซึ่งเชื่อมต่อกับสายพานลำเลียงและส่งไปยังสายพานลำเลียงเพื่อรวบรวมประโยชน์ของ EZ Logic คือ อุปกรณ์ส่งต่อการควบคุมการเคลื่อนย้ายของกล่องจากโซนหนึ่งไปยังอีกโซนหนึ่ง กล่องหนังสือจะวิ่งไปยังจุดเชื่อม”3-To-1”ก่อนจะเคลื่อนผ่านไปยังสายพานลำเลียงแบบโค้ง เพื่อไปยังอุปกรณ์ตรวจเช็คหนังสือ ซึ่งการออกแบบให้มีการค้นหาหนังสือที่รวดเร็ว หลังจากค้นเสร็จจะเปลี่ยนทิศทางของกล่องลงด้านล่างตามแรงโน้มถ่วงเพื่อส่งไปยังท่าจัดส่งและรวบรวมเป็นพาเลทในการจัดส่งซึ่งมีทั้งสิ้น 6 ช่อง ส่วนช่องจัดส่งที่เหลือสำรองสำหรับกรณีสั่งซื้อไม่เต็มกล่อง หรือยอดสั่งซื้อต่ำกว่าจำนวนกล่องที่บรรจุบนพาเลท ในส่วนนี้เมื่อศูนย์กระจายสินค้าได้รับคำสั่งจะหยิบคำสั่งซื้อและส่งต่อไปยังสายพานลำเลียงระบบค้นหาสินค้าที่ขับเคลื่อนด้วยระบบความเร็วสูง ไปยังสายพานลำเลียงหลักและเข้าไปยังโซนที่ใช้หยิบหนังสือที่เหมาะสม ระบบคอมพิวเตอร์จะควบคุมเส้นทางแบบอัตโนมัติในการเลือกหนังสือตามคำสั่งในแต่ละโซนที่หยิบสินค้าจนกว่าจะเสร็จตามคำสั่ง คำสั่งซื้อที่รวบรวมแล้วเสร็จจะย้อนกลับไปยังจุดในการบรรจุหนังสือ ซึ่งจะมีการตรวจสอบความถูกต้อง ติดป้ายฉลากสำหรับในการจัดส่ง เมื่อตำราได้บรรจุตามคำสั่งซื้อของลูกค้าแล้วจะลำเลียงไปยังจุดรวม”3-To-1”และส่งไปยังวงรอบหลักของการค้นหาที่จัดส่งในกรณีที่หยิบหนังสือเต็มกล่อง ในกรณีคำสั่งที่ไม่เต็มกล่องจะส่งย้อนกลับไปยังช่องส่งไปรษณีย์ภัณฑ์ซึ่งตั้งอยู่ที่ส่วนนอกสุดของอาคาร โดยสามารถทำงานได้ 75 กล่องต่อนาที ที่กำลังการขยายสูงสุด 120 กล่องต่อนาที





ประโยชน์จากการปรับปรุง





-ประสิทธิภาพในการเติมสินค้าตามคำสั่งซื้อสูงขึ้น


-ความถูกต้องแม่นยำสูง ลดความผิดพลาดในการจัดส่ง


-การสื่อสารมีประสิทธิภาพ


-จัดส่งในช่องจัดส่งที่ถูกต้อง


-เกิดประโยชน์สูงสุดในการค้นหาสินค้าและการหยิบสินค้า เพราะเป็นระบบอัตโนมัติ


-สามารถขยายกำลังในการผลิตในโรงพิมพ์ได้ และสามารถส่งตำรามากกว่าที่ออกแบบไว้เดิมถึงสองเท่าตัว


-ธุรกิจมีการเจริญเติบโต อย่างต่อเนื่อง และสามารถขยายธุรกิจต่อไปได้จากการวางแผนระบบไว้รองรับคำสั่งซื้อเพิ่ม


-ระบบสามารถสับเปลี่ยนได้ง่าย ติดตั้งง่าย สามารถขยายขนาดการจัดเก็บไว้อีกจำนวนมาก


-ลูกค้าเกิดความพึงพอใจมากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น: